แนวทางของ โครงการข้าวศรีแสงดาวหมู่บ้านนาหยอด
ไม่เผานา หยุดสร้างมลพิษ สะสมขุมทรัพย์ในดิน
ทุ่งกุลาร้องไห้ เปรียบได้กับอู่ข้าวอู่น้ำของชาวนาที่มีดิน น้ำ อากาศ ดุจดั่งของขวัญจากธรรมชาติ ทำให้ปลูกข้าวได้หอมนุ่มเป็นเอกลักษณ์ต่างจากข้าวที่ปลูกที่อื่น ด้วยอัตลักษณ์นี้ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้จึงเป็นสินค้าไทยชนิดแรกที่ได้ขึ้นทะเบียน ‘สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์’ (Geographical Indications : GI) ที่สหภาพยุโรป
Environtment
ข้าวศรีแสงดาว ข้าวที่เกิดมาจาก ทุ่งกุลาร้องไห้

ปฏิเสธไม่ได้ สภาพภูมิประเทศของประเทศไทยเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการเกษตรกรรม จนได้รับการขนานนามว่าเป็น "อู่ข้าวอู่น้ำ" บรรพบุรุษของเราได้ทิ้งมรดกอันล้ำค่าเกี่ยวกับวัฒนธรรมการปลูกข้าวซึ่งเป็นวิถีชีวิตของเรา และข้าวของเราไม่เพียงแต่เลี้ยงปากท้องประชากรไทยทั้งประเทศเท่านั้น แต่ยังถูกส่งออกไปยังครัวทั่วโลก สร้างความมั่นคงทางอาหารอีกด้วย
30 ปีก่อน กรมพัฒนาที่ดินได้พลิกฟื้นผืนดินแห่งนี้ให้กลายเป็นแหล่งปลูกข้าวอันดับต้นๆ ของโลก หลังจากที่กรมการข้าวได้เฟ้นหาข้าวพันธุ์ดีจากทั่วประเทศ จนคัดเลือกข้าวหอมมะลิ 2 สายพันธุ์ ได้แก่ ‘ขาวดอกมะลิ 105’ และ ‘กข 15’ ให้ผ่านเข้ารอบ และมีการกระจายเมล็ดพันธุ์ไปทดลองปลูกในหลายพื้นที่ ปรากฏว่าพื้นที่ภาคอีสานโดยเฉพาะในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่ใหญ่และดีที่สุดในประเทศ
ประโยชน์ของแกลบ พลังงานสะอาดจากธรรมชาติ
แกลบที่เหลือจากกระบวนการสีข้าวถือเป็นชีวมวลที่สามารถนำมาใช้เป็นพลังงานสะอาด ทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งเป็นพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป รวมถึงถ่านหินที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม บริษัท ศรีแสงดาวไบโอพาวเวอร์ จำกัด ก่อตั้งขึ้นภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) เพื่อนำของเสียจากกระบวนการผลิตกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามแนวทาง Zero Waste และเพิ่มมูลค่าให้กับแกลบข้าวแกลบจะถูกนำมาเผาเพื่อผลิตไอน้ำ ซึ่งใช้ในการปั่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อผลิตพลังงานสำหรับใช้ภายในโรงงาน รวมถึงจำหน่ายให้แก่ภาครัฐ นับเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่ช่วยลดของเสีย เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร และสร้างพลังงานสะอาดเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
วัตถุประสงค์และหลักการของวิธีการทำนาหว่าน
หลักการพื้นฐานของโครงการหมู่บ้านนาหยอดศรีแสงดาว คือการลดปริมาณเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในการเพาะปลูก และเพิ่มผลผลิตต่อไร่ จากวิธีการทำนาหว่านแบบเดิมที่ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ถึง 35 กิโลกรัมต่อไร่ เทียบกับการใช้เมล็ดพันธุ์เพียง 1 กิโลกรัมต่อไร่สำหรับวิธีการทำนาหยอด โดยมีระยะห่างระหว่างต้นข้าวถึง 40 เซนติเมตร ซึ่งทำให้แต่ละต้นมีพื้นที่เพียงพอในการเติบโตและเจริญงอกงามโดยไม่ต้องแย่งอาหาร น้ำ อากาศ และแสงแดด ส่งผลให้ต้นข้าวแข็งแรงและมีความต้านทาน สามารถทนต่อโรคและแมลงศัตรูพืชได้ ชาวนาสามารถเพิ่มผลผลิตได้เป็นสองเท่าถึง 600 กิโลกรัมต่อไร่
แกลบที่เหลือจากการสีข้าวถูกนำมารีไซเคิลเป็นบรรจุภัณฑ์ ด้วยแนวคิดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สะท้อนถึงเอกลักษณ์และแหล่งที่มาของข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ จนคว้ารางวัลด้านดีไซน์จากหลายประเทศทั่วโลก ทุ่งกุลาร้องไห้ เปรียบได้กับอู่ข้าวอู่น้ำของชาวนาที่มีดิน น้ำ อากาศ ดุจดั่งของขวัญจากธรรมชาติ ทำให้ปลูกข้าวได้หอมนุ่มเป็นเอกลักษณ์ต่างจากข้าวที่ปลูกที่อื่น ด้วยอัตลักษณ์นี้ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้จึงเป็นสินค้าไทยชนิดแรกที่ได้ขึ้นทะเบียน ‘สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์’ (Geographical Indications : GI) ที่สหภาพยุโรป


การเผาตอซัง = การเผามรดกของเรา
ช่วยดูแลสิ่งแวดล้อม
ลดผลกระทบจากการเผาตอซังข้าว = ลดการเผามรดกของเรา
เกษตรกรส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิดว่าการเผาตอซังเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกเป็นวิธีที่ง่ายกว่าการไถกลบเศษพืชและช่วยลดต้นทุนการผลิต อย่างไรก็ตาม สิ่งที่พวกเขาอาจไม่ตระหนักคือ การปลี่ยนมาใช้วิธีไถกลบอินทรียวัตถุลงดินแทน จะช่วยฟื้นฟูความสมบูรณ์ของดิน ลดการใช้สารเคมี และลดปัญหามลภาวะทางอากาศ ศรีแสงดาวมุ่งส่งเสริมให้เกษตรกรตระหนักถึงความสำคัญของการทำเกษตรที่ยั่งยืน เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและสร้างอนาคตที่ดีกว่าสำหรับทุกคเผาตอซังไม่เพียงแต่ทำลายหน้าดิน แต่ยังทำลายแร่ธาตุสำคัญที่สะสมอยู่จากน้ำและซากพืชที่ทับถมกันมาหลายชั่วอายุคนอีกด้วย เมื่อดินขาดแร่ธาตุและอินทรียวัตถุที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช เกษตรกรต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมีมากขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นและเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ การเผาตอซังยังเป็นสาเหตุสำคัญของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสร้างมลพิษในอากาศการลดการเผาตอซังและเปลี่ยนมาใช้วิธีไถกลบอินทรียวัตถุลงดินแทน จะช่วยฟื้นฟูความสมบูรณ์ของดิน ลดการใช้สารเคมี และลดปัญหามลภาวะทางอากาศ ศรีแสงดาวมุ่งส่งเสริมให้เกษตรกรตระหนักถึงความสำคัญของการทำเกษตรที่ยั่งยืน เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและสร้างอนาคตที่ดีกว่าสำหรับทุกคน
ทรัพย์สินในดิน เพิ่มคุณค่าทางเกษตรด้วยวิถีการเพาะปลูกที่ยั่งยืน
โครงการ หมู่บ้านนาหยอดศรีแสงดาว ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาใช้แกลบข้าวเป็นวัสดุสำหรับการเตรียมแปลงนา ซึ่งเป็นวิธีการฟื้นฟูระบบนิเวศ เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน พร้อมกับยังคงรักษาสารอาหารจากปุ๋ยที่ใส่เป็นประจำทุกปี สิ่งเหล่านี้ทำให้ดินกลายเป็น ทรัพย์สินในดิน ซึ่งช่วยให้เกษตรกรสามารถปลูกข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการพึ่งพาปุ๋ยเคมีราคาแพง และลดต้นทุนการผลิตลงอย่างมหาศาล เมื่อมีการไถกลบเศษพืชเป็นเวลาต่อเนื่องหลายปี ดินจะได้รับการฟื้นฟูจนมีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอ ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมีอีกต่อไป นี่เป็นแนวทางที่ช่วยสร้างความยั่งยืนในการเกษตร ลดต้นทุนให้กับเกษตรกร และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน ศรีแสงดาวมุ่งมั่นในการพัฒนาวิธีการปลูกข้าวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกษตรกรสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมั่นคง และสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพสูงสำหรับอนาคต
คืนศักดิ์ศรีชาวนาไทย กู้ศักดิ์ศรีข้าวไทยในเวทีโลก

การเพาะปลูกข้าวเชิงป้องกัน